top of page
sukit.jpg
Set 4 untitled 01.jpg

Sukit Sukrakan :A very delicate concept that inspired my work

Janine Yasovant, MPA.


I would like to introduce a watercolor artist who was born in the south of Thailand. Before he became an independent artist, he was an art teacher for two schools in his hometown, Trang Province. Currently he is living and working in Phuket Province as an independent watercolor artist. Throughout the years, he has had several art exhibitions in Thailand and taught people the way of watercolor painting.

Here is the interview

JY: Have you ever submitted your painting to an art competition?


SS: Yes, I have. This happened before I enrolled in the Poh Chang Academy of Arts in Bangkok in 1972. When I was in the third year of my diploma course, I submitted two watercolor paintings for two different art competitions. The first one was the painting of a still model that I painted during my vacation and then submitted for the contest afterwards. I applied color quite heavily with strong shading like a silhouette style. For the second painting, I painted a watercolor picture of a traditional fishing boat in the south of Thailand. Both paintings won the second prize. My friend also brought that second painting to show at an art exhibition at Sanamluang area in Bangkok. He said to me that Angkarn Kalayanapong (Thai national artist in poetry in 1989), a famous poet and an artist, bought my painting. I was very delighted and full of moral support because at that time he was not a national artist yet but he was interested in my work.

JY: Could you tell me about your student life at Poh Chang?

SS: When I was a student there, ten of my classmates and I formed a group and went to practice art outside the academy in the evening. The usual places we went were Klong Lod canal and Wat Pho temple because we could easily go there by walking since they were not too far. We all had quite similar ideas to share techniques and experiences as well as criticism in our group so we could improve our knowledge and art skills. I remember well our upperclassman Chokchai Takpho who all of us regarded as an idol. He gave us valuable advice about working on art. Another thing I would like to mention is that Saksiri Meesomsuep, one of my best classmates at Poh Chang, received the title of Thai national artist in poetry in 2017. 

As uniting as a group strengthened our bond, we then looked for outstanding artists outside the academy to be our art teachers. The first person I cannot forget was Pratueng Emcharoen. At that time, he lived in the Bangkhae District and his home had a garden. We brought our drawings and paintings to him for invaluable suggestions and criticism. For me, he gave me some advice that my works were not quite good enough so I had to practice more than ever and he guided me how to do it. Listening to his advice, I found that his criticism helped me a lot with my drawing and was not discouragement at all.

Another individual was Tang Chang, a well-known poet and an artist. One early morning we went to his house but he scolded us for an entire day. In the evening, he finally accepted us as students. This kind of mental test is like in Chinese martial arts movies. We were his students for a year and each of us received individual sets of instructions and comments to improve our art. His teaching method was profound: that we should draw naturally with our own nature. He neither forced us to draw in a certain style nor suggested how to draw with any particular method. One thing he taught us was the concept of Eastern culture in our work. He guided us in the way of thinking and how to create better drawing. For the first time, I saw art differently from the general perspective that art is just learning and practicing the skills. At last, I realized that there are so many processes of thinking and creating art. All these things were not in the lectures of my educational institute and they became my initial step for in-depth study of drawing.

Abstract drawing was one of my favorite kinds of art and I could not describe how beautiful it is. Nevertheless, Abstract drawings of Tang Chang were lifelike and formless such as black color on white paper or white color on black paper. Tang Chang drew all the time. He taught all of us to be proud of Eastern culture. To make the painting more lifelike and not boring to look at, he used the principles of Buddhism that the painting should contain four elements: earth, water, wind and fire. For me, this was a very delicate concept which gave me inspiration to work continually and I finally understood how to paint a good picture.

From my own experiences, hardship teaches me to work harder. During the period of my study, my mother sent me monthly 300 Baht for transportation/food/drawing equipment. This was definitely insufficient if you asked me. I used a lot of paper in an effort to practice sketching in the study period with Tang Chang. Sketching is the core standard of drawing. The personality of Tang Chang—he was a good man, sharp-tongued yet he had high kindness and integrity. In his first Thai book “Tao Te Ching”, he translated the work of a Chinese philosopher from Chinese to Thai. This book is very good. I recommend you read it.

 

JY: What job did you take after your graduation?

SS: When I finished my art education at Poh Chang Academy of Arts in 1977, I became an art teacher in my hometown in Trang Province in the South of Thailand. To be honest, during my study at Po Chang, I could not see myself as an art teacher at all because I wanted to be an independent artist after graduation. At that time, I needed to have a main job so I sat for the teacher’s examination and then I was recruited as an art teacher. The first school I went to teach drawing and painting was a district school called Huay Yod School which was located at Huay Yod District in Trang Province.

In the beginning of my teaching life, I intended to teach my students to have good artistic knowledge and skills. It is essential for any art teacher to understand principles of art and always practice drawing. As the school was in a different district that was far from the main city, the art equipment was quite limited. The stores only sold regular watercolor paper and good quality watercolors were scarce. Subjects I taught were drawing and shading, image composition and color theory. One of the convenient and easy techniques I used was watercolor painting because it was convenient, quick to apply on paper and can be adapted to many styles. Back then my knowledge of watercolor painting was still lacking and I was not too serious with it yet but I found that watercolor painting was appropriate to teach my students.  During 2001 – 2012, I moved to teach at the second and last school Chulaporn Ratchawittayalai in Trang Province. After my early retirement, I moved to live and work in Phuket Province till the present. There I teach watercolor art to people and create more watercolor paintings.  

     

JY: Could you tell me about your past exhibitions?

SS: Initially, I participated in a watercolor art exhibition with the Andaman group in 1999. The exhibition was held in Phuket Province. After that, I joined the group art exhibitions constantly. The first solo exhibition, “2 Decades: Sukit Sukrakan”, was a collection of works before and after I was an art teacher over the timespan of 20 years. In 2002, I had a solo oil color art exhibition “Impression from the Heart” in Phuket. Before I had early retirement, I was a member of the National Visual Arts Association of Thailand and had art exhibitions every year. In 2010, I planned to retire from my work to be a full-time artist. I used watercolor for practice by painting five to ten pictures every day until 2012 which was my retirement year. I collected my watercolor paintings that I used for practice and had an art exhibition under the name “Suk Kab Sinam (Happiness with Watercolor)”. This is my personal brand I used whenever I have solo art exhibition every year till now.

JY: What is your impression of Phuket Province?

SS: When I was young I used to visit Phuket with my family. I saw and was really fascinated by the old buildings in Chino -Portuguese architecture. Back then I wanted to have a house there because Phuket was very peaceful. This was one of the reasons I like to draw old buildings in Phuket. Moreover, beautiful natural resources around the island were plentiful. I also liked to draw Thai fishing boats because of their colors and shapes. In my view, sometimes preference doesn’t need a reason but it is a never-boring inspiration. It is always good for me to draw pictures of boats under strong sunlight and I am so happy to use my painting brush to record my impression quickly. I find that watercolor can respond to my emotion very well.

JY: Do you have any suggestions for beginners who want to learn painting with watercolor?

SS: In the beginning, watercolor is very challenging to paint because we cannot control all the outcomes, as if we want to reach the destination of our journey. The road of watercolor may not be smooth all the time as sometimes we find the obstacles and pits along the way. What we can do is to learn its pattern and overcome it with practice for control. It is advisable to practice painting with watercolor every day. If you stop practicing for too long, it is likely that you have to start all over again. Watercolor may be easy to learn but harder to master because everything about it is important. We have to learn how to select suitable kinds of painting paper and different techniques for various conditions in the story you wish to convey in the painting.

What is the charm of watercolor that can captivate me? My answer is to find the best way to use color effectively and control the use color. Many people may be discouraged after practice. I could tell you that there is no shortcut since you have to practice and solve problems every time when the outcome is undesirable or the color is not as we hoped. Only practice can tell you whether your work is good or not and how you can improve it. I also look at and inspect my own progress. My personal thought is that happiness and success can happen if we have discipline in ourselves. Laziness is not the reason to give up doing something. Truthfully, moods and inspiration are necessary. You can start by looking at something you like or are impressed with, and then transfer it to painting paper. Most importantly, you should be happy to paint something as happiness bring moods and inspiration to you. I want to tell people who love watercolor and wish to learn it that discipline is one of the most important aspects and it always comes first. This can be followed by learning essential theories along with diligent practice.

https://www.scene4.com/archivesqv6/2017/sep-2017/0917/janineyasovant0917.html

SUKIT1.jpg

สุกิจ ศุกระกาญจน์

คลิกเพื่อดูภาพ
 

ดิฉันขอแนะนำศิลปินสีน้ำที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ก่อนที่ จะออกมาเป็นศิลปินอิสระ อาจารย์สุกิจเป็นครูสอนศิลปะให้กับโรงเรียนรัฐบาลสอง แห่งในบ้านเกิดของเขาที่จังหวัดตรัง เวลานี้อาจารย์สุกิจอาศัยอยู่ และทำงานเป็น ศิลปินสีน้ำอิสระในจังหวัดภูเก็ต ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาอาจารย์สุกิจได้มีงาน นิทรรศการศิลปะในประเทศไทยหลายครั้งและเป็นอาจารย์สอนวิธีการเขียนภาพสี 
น้ำให้กับผู้สนใจ

 

ต่อจากนี้เป็นบทสัมภาษณ์

จานีน: อาจารย์เคยส่งผลงานภาพเขียนไปประกวดในการแข่งขันต่างๆหรือเปล่าคะ

 

สุกิจ: เคยส่งไปครับเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่ผมสมัครเรียนที่วิทยาลัยเพาะช่างใน ปีพ.ศ. 2515 ตอนที่ผมยังเรียนอยู่ในปีที่สามของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ผมส่งงานภาพเขียนสีน้ำ 2 ภาพให้กับการแข่งขันทางศิลปะ 2 รายการ ภาพแรก 
เป็นงานเขียนภาพรูปหุ่นนิ่งผมมาวาดในช่วงปิดเทอม แล้วกลับไปเอาส่งประกวด ภาพที่วาดจะใช้สีค่อนข้างหนัก แสงเงาจัดจ้านแบบสไตล์มุมย้อนแสง สำหรับผล งานภาพที่สองเป็นภาพเขียนสีน้ำรูปเรือตังเกทางภาคใต้ของประเทศไทย ภาพเขียนทั้งสองภาพได้รับรางวัลที่สอง เพื่อนของผมได้นำภาพที่สองไปจัดแสดง ที่งานนิทรรศการศิลปะที่บริเวณสนามหลวงในกรุงเทพ เขาบอกกับผมว่าอาจารย์ อังคาร กัลยาณพงศ์ (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณกรรม กวีนิพนธ์ ปีพ.ศ. 2532) ที่ เป็นนักกวีและศิลปินได้ซื้อภาพเขียนของผมไป ผมรู้สึกปลื้มใจเป็นอย่างมากและ เต็มไปด้วยกำลังใจเพราะว่าตอนนั้นท่านอังคารยังไม่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติแต่ท่าน 
มีความสนใจและเห็นคุณค่าในผลงานของผม

 

จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าถึงชีวิตตอนเป็นนักเรียนที่โรงเรียนเพาะช่าง

 

สุกิจ: ในช่วงที่ผมเรียนอยู่เพาะช่าง ผมและเพื่อนร่วมชั้นเรียนสิบคนนัดรวมกลุ่มกัน ออกไปฝึกฝนวาดภาพนอกโรงเรียนในตอนเย็น สถานที่ประจำที่ผมและเพื่อนๆไป กันคือคลองหลอดและวัดโพธิ์เพราะเราสามารถเดินไปถึงได้เพราะอยู่ไม่ไกลเกิน 
ไป พวกเราทุกคนมีความคิดแบบเดียวกันที่จะแบ่งปันเทคนิค ประสบการณ์และ คำวิจารณ์กันในกลุ่มจะได้ปรับปรุงความรู้และทักษะทางศิลปะ จำได้ไม่ลืมคือพี่ โชคชัย ตักโพธิ์ คอยให้คำแนะนำที่มีคุณค่าในการทำงานศิลปะ รุ่นพี่เป็นไอดอล ของพวกเราทุกๆคนเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการทำงานศิลปะ อีกสิ่งหนึ่งที่ผม อยากจะพูดถึงก็คือว่าคุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ หนึ่งในเพื่อนสนิทร่วมชั้นเรียนของผมที่ เพาะช่างได้รับตำแหน่งศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณกรรม (กวีนิพนธ์)ประจำปีพ.ศ. 2560 การรวมตัวกลายเป็นความผูกพัน ทำให้เราเริ่มแสวงหาครูบาอาจารย์ข้างนอก สถาบัน ท่านแรกที่ผมไม่เคยลืมคืออาจารย์ ประเทือง เอมเจริญ ตอนนั้นท่านอยู่ ละแวกบางแค บ้านท่านอยู่ในสวน พวกเราเอางานไปให้ท่านดู ท่านมีเมตตา ชี้แนะ วิจารณ์ ผลงานที่วาด จำได้ว่าผมขนงานไปไม่มากทั้งสีน้ำและงานวาดเส้น ท่าน บอกว่ายังใช้ไม่ได้ต้องทำอีก ต้องทำแบบโน่นนั่นนี่ ซึ่งผมเองก็รับฟังการชี้แนะจาก ท่าน กลับมาบ้านก็ไม่ได้ท้อถอยจากการโดนวิจารณ์งานตัวเราที่วาดไป คราวนี้ก็เลยไปหาอาจารย์อีกท่านคือ จ่าง แซ่ตั้ง จำได้ว่าพวกเราไปหาท่านตั้งแต่ ตอนเช้า ท่านก็ด่าตำหนิพวกเราพวกเราก็ทนนั่งฟังท่านด่า หาว่าเราจะมาลองของ บ้าง แต่พอตอนเย็นท่านก็ยอมรับพวกเราเป็นศิษย์ของท่าน นึกถึงหนังจีนกำลัง ภายในเลยว่าโดนทดสอบทางจิตใจสูงมาก แต่ความอดทนอดกลั้นทำให้ผมได้เป็น ลูกศิษย์ของอาจารย์ จ่าง อยู่ประมาณ 1ปีเต็ม พวกเราเกือบสิบคนที่ไปฝากตัวเรียน วาดภาพกับท่าน ต่างได้รับการชี้แนะที่แตกต่างกันไป อาจารย์ท่านมีวิธีการสอนที่ดี คือการสอนให้เราวาดเป็นไปแบบธรรมชาติของตัวเราเอง ท่านไม่ได้บังคับว่าเราจะ วาดภาพแนวไหนอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านสอนเราเสมอคือความเป็นตะวันออก ใน งาน ท่านสอนวิธีคิดและการสร้างสรรค์งานวาดภาพ เป็นครั้ังแรกที่ทำให้ผมมอง ศิลปะที่ไม่ใช่แค่การฝึกฝนฝีมือเป็นอย่างเดียว กระบวนการคิดสร้างสรรค์ศิลปะมี หลากหลายวิธีจริงๆ บทเรียนจากการเรียนนี้ผมไม่ได้รับจากการเรียนรู้ในโรงเรียน เลย จุดนี้เป็นก้าวแรกของการลงลึกศึกษาวาดภาพอย่างจริงๆจังๆ งานวาดท่าน อาจารย์จ่าง ออกแนวนามธรรม เป็นงานในแนวที่ผมชอบมากผมไม่สามารถบอกได้ ว่างามอย่างไรแต่พอผมดูงานท่านวาดงานมีชีวิตชีวามาก ไร้รูปร่าง มีแต่สีดำบน ขาวหรือขาวบนดำบนผ้าใบ กระดาษ ท่านอาจารย์วาดภาพได้ตลอดเวลา ท่านสอน ให้เราภูมิใจในความเป็นตะวันออก สิ่งที่ได้จากการสอนคืออาจารย์ สอนให้วาด ภาพให้ดูแล้วมีชีวิตชีวา โดยใช้หลักการทางพุทธศาสนา คือในภาพเขียนต้อง ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือดินน้ำลมไฟ ทุกอย่างต้องประกอบกันแล้วงานจะมีชีวิต มองก็ไม่เบื่อ ตรงนี้เป็นความละเอียดอ่อนมาก อันเป็นแรงบันดาลใจให้ผมทำงาน 
มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยคสมัยที่เรียนที่เพาะช่างและกับอาจารย์ จ่าง แซ่ตั้ง อิทธิพลเชิงบวกคือ เราทำงานด้วยความเข้าใจว่างานที่ดีจะต้องวาดอย่างไร

 

จากประสบการณ์ของผมเอง ความลำบากสอนให้ผมมุมานะครับ เพราะตอนเรียน แม่ส่งให้เดือนละสามร้อยบาทเป็นค่ารถ อาหาร กระดาษ อุปกรณ์การวาด ถามว่า พอใช้ไหมตอบเลยว่าไม่พอ กระดาษต้องไปขอความเมตตาจากอาจารย์ โดยขอ กระดาษที่ใช้วาดมาแล้วมาวาดมาฝึกเพราะต้องใช้กระดาษมาก ผมฝึกวาดเส้น อย่างหนักที่เรียนกับอาจารย์จ่าง วาดเส้นถือว่าเป็นพื้นฐานของการวาดทั้งหมด อาจารย์จ่างเป็นคนปากร้าย ใจดี มีเมตตาคุณธรรมสูงมาก ผมได้วิธีคิดและการวาด ภาพให้มีชีวิตชีวาคือท่านอาจารย์จ่าง เป็นคนถ่ายทอดให้ครับ หนังสือเล่มแรกที่ ท่านเขียนแปลจากนักปราชญ์จีน คือ ต้าวเต้อจิง ลองหามาอ่านดูนะครับ

 

จานีน: อาจารย์ทำงานอะไรหลังจบการศึกษาสุกิจ: ตัวผมเองเมื่อจบการศึกษาจากเพาะช่างในปี2520 ผมสอบบรรจุรับราชการครู ได้ที่บ้านเกิดคือ จังหวัดตรัง ในช่วงที่เรียนที่เพาะช่างตัวผมเองไม่ได้คิดว่า ตัวเองจะมามีอาชีพเป็นครูสอนศิลปะ ตั้งใจไว้ว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วจะใช้ชีวิต ทำงานศิลปะ แต่ด้วยวิถีชีวิตตอนนั้นอยากมีงานทำ ก็เลยสอบบรรจุได้เป็นครู  ก็ เลยเป็นครูสอนวิชาวาดภาพ วาดเขียน ที่โรงเรียนห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พอเริ่มเป็นครู ก็ตั้งใจสอนนักเรียนอยากให้นักเรียนเก่ง มีความสามารถ 
ตัวผมเองก็ต้องวาดภาพไปด้วยเพื่อสอนนักเรียน วิชาศิลปะมีความจำเป็นอย่างมาก ของคนที่จะเป็นครูสอนศิลปะ จะต้องฝึกฝนวาดภาพบ่อยๆ ช่วงนั้นโรงเรียนที่ผมไป สอนอยู่ต่างอำเภอ อุปกรณ์ที่พอหามาสอนได้ก็ช่างมีจำกัด เพราะร้านค้ามีแค่ 
กระดาษสีน้ำแบบธรรมดา สีน้ำดีๆหายากและแทบจะไม่มีขาย ผมเองสอนอยู่สอง อย่างคือ 1การวาดเส้นแสงเงา 2 หลักการจัดภาพ3 ทฤษฏีสี หลักการระบายสี ใน เทคนิคต่างๆ เทคนิคที่สะดวกและง่ายสำหรับผมคือการสอนวาดด้วยสีน้ำ เพราะ สะดวกรวดเร็วมีเทคนิคหลากหลาย ตัวผมเองในขณะนั้นสำหรับการวาดภาพด้วยสี น้ำ ถือว่ามีความรู้อันแทบน้อยนิดนึกวาดทดลองเอาเอง แต่ยังไม่ได้จริงๆจังๆอะไร มากนัก แต่รู้สึกว่าสะดวกในการสอน ก็เลยใช้สีน้ำมาใช้ในการสอนวาดภาพให้กับนักเรียน ช่วงปีพ.ศ 2544 – 2555 ผมย้ายไปสอนที่โรงเรียนแห่งที่สองและเป็นโรงเรียน สุดท้ายคือโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ที่จังหวัดตรัง หลังจากที่ผมเกษียณอายุ ราชการก่อนกำหนดออกมาแล้ว ผมย้ายมาอยู่และทำงานที่จังกวัดภูเก็ตจนถึง ปัจจุบัน ผมสอนวาดสีน้ำให้กับบุคคลทั่วไปและวาดภาพสีน้ำออกมาเรื่อยๆ

 

จานีน: อยากให้อาจารย์พูดถึงงานนิทรรศการที่ผ่านมา

 

สุกิจ: เริ่มต้นเดิมทีได้เข้าร่วมส่งงานสีน้ำแสดงกับกลุ่มอันดามัน เมื่อปี2542 จัดที่ ภูเก็ต หลังจากนั้นก็เป็นนิทรรศการร่วมกับกลุ่มต่างๆมากมาย แสดงเดี่ยวครั้งแรก ชุดสองทศวรรษ สุกิจ ศุกระกาญจน์ รวบรวมผลงานที่วาดไว้ในช่วงเป็นครูและก่อน เป็นครู จัดแสดงเดี่ยวสีน้ำมันปีพ.ศ. 2545 ชุด impression from the heart ที่ภูเก็ต ช่วงนั้นยังไม่เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ก็แสดงร่วมกับกลุ่มต่างๆมา 
เรื่อย เป็นสมาชิกของ สมาคมทัศนศิลป์นานาชาติแห่งประเทศไทยร่วมแสดงงาน ทุกๆปี พอตอนปีพ.ศ. 2553 เริ่มวางแผนชีวิตจะออกจากราชการเดินตามฝันของ ตัวเองมาทำงานศิลปะ เลยใช้สีน้ำเป็นการฝึกฝนเตรียมตัวเข้าสู่สิ่งที่ฝันคือวาดภาพ 
เต็มตัว ฝึกตลอดทุกๆวันๆละ5 - 10ภาพ จนปีพ.ศ. 2555 ได้เกษียณออกจากราชการครู เลยเริ่มเอาผลงานที่ตัวเองฝึกซ้อมมาจัดนิทรรศการการสีน้ำโดยใช้ชื่อ ว่า "สุขกับสีน้ำ" เป็นแบรนด์ประจำตัวทุกๆครั้งทุกๆปีที่แสดงก็ใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบันจานีน: อาจารย์รู้สึกอย่างไรกับจังหวัดภูเก็ต

 

สุกิจ: ครั้งแรกในตอนเป็นนักเรียนเคยมากับลุงๆป้าๆ มาเห็นอาคารเก่าๆสไตล์ชิโน โปรตุกีสแล้วมีความฝันว่าอยากมีบ้านอยู่ที่นี่เพราะภูเก็ตเป็นเมืองที่สงบมากในยุค นั้น ความทรงจำเลยฝังใจกับความงดงามของสถาปัตยกรรมบ้านอาคารเก่าเมือง ภูเก็ตเลยชอบวาดตึกเก่าภูเก็ตมาก สำหรับภูเก็ตแล้วถือว่ามีทรัพยากรธรรมชาติที่ งดงามทุกมุมมองเมืองรอบๆเกาะก็ว่าได้ ตัวผมเองชอบวาดภาพเรือประมงไทยทั้ง ใหญ่เล็ก ผมชอบสีสันและรูปร่างของเรือความชอบไม่ต้องมีเหตุผลแต่มันคือแรง บันดาลใจที่ไม่เบื่อหน่ายเมื่อผมได้วาดเรือท่ามกลางแสงแดดจัดๆความสุขที่ได้ ตวัดปลายพู่กันบันทึกความประทับใจอย่างรวดเร็วสีน้ำสามารถตอบสนองอารมณ์ผมได้เป็นอย่างดี

จานีน: อาจารย์มีคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นที่อยากเรียนวาดรูปสีน้ำไหมคะสุกิจ: สำหรับสีน้ำผมรู้สึกว่า เป็นสีที่มีความท้าทายในการวาดสูงมาก เราไม่ สามารถควบคุมมันได้ทั้งหมดเมื่อเราเริ่มวาดมันเหมือนกับเริ่มต้นเดินทางไปหา ปลายทางที่อยากจะเห็น แต่สีน้ำมันเหมือนการเดินทางบนท้องถนนที่หลากหลาย มีทั้งเรียบ ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อเราต้องพยายามควบคุมให้ได้มากที่สุดสิ่งที่ อยากจะบอกสำหรับคนวาดภาพด้วยสีน้ำว่า จะต้องฝึกวาดทุกๆวันอย่าทิ้งไปนาน ไม่งั้นจะต้องมาเริ่มใหม่หมด องค์ประกอบของสีน้ำมันไม่ง่ายเพราะต้องเรียนรู้ กระดาษ เทคนิคการระบายสีในสภาวะที่แตกต่างกันในด้านเรื่องราว

 

สิ่งที่ผมหลงเสน่ห์ของสีน้ำคือการวิ่งของสีที่เราต้องควบคุมให้ได้ มันสนุกมากถ้า เราควบคุมได้ หลายๆคนที่อยากฝึกอาจจะเกิดความท้อถอย ผมบอกเลยครับว่า สี น้ำไม่ทีทางลัด มันต้องฝึกแทบทุกวันต้องเรียนรู้ทุกๆวันต้องฝึกแก้ปัญหาเมื่อสีที่ เราวาดไม่เป็นไปตามเราที่คาดหวัง การฝึกฝนเท่านั้นที่จะให้คำตอบว่างานเราดีไม่ ดีพัฒนาไปอย่างไร ผมเองก็ดูและสังเกตการพัฒนาการของตัวเองมาตลอด ความสุขและความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องฝึกฝนมีวินัยกับตัวเอง ไม่ปล่อยให้ความ ขี้เกียจมาเป็นข้ออ้าง จริงอยู่อารมณ์ในการวาดจำเป็นต้องมีแต่เราก็ต้องฝึกมองสิ่งที่เราประทับใจที่อยากวาดแล้วเริ่มต้นวาดในสิ่งนั้นๆ เมื่อความสุขมีอารมณ์ก็จะตามมา เรื่องสุดท้ายที่อยากจะบอกสำหรับคนที่อยากจะเดินทางเรียนรู้ท่องไปในโลก ของสีน้ำว่าวินัยต้องมาก่อนเสมอ ฝึกฝนอ่านดูศึกษา สัมผัสทั้งทางตาความจำ และที่สำคัญคือการปฏิบัติ

bottom of page