top of page

Kamol Tassananchalee

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Winter in California: Kamol Tassananchalee, Thai National Artist.

 

 

 

Kamol Tassananchalee: Thai National Artist
East and West: An Artist of Two Worlds

I have been walking on this path for so long. Life and time are moving forward. I just realize that making effective arts requires honesty and sincerity as a foundation. The value of a human is measured by the result of the one’s work and it will definitely have the greater value.
—Kamol Tassananchalee

Recently, I had an appointment to meet Kamol Tassananchalee for an interview. At the meeting, he told me that he traveled back from the USAmany times with his family to join art exhibitions, workshops or special occasions at universities in Thailand. It has been over eight years since I followed him and his exhibitions in Thailand and my wish was to finally gain an interview with him 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Kamol Tassananchalee was appointed a Thai National Artist for visual arts in 1997.  He has received more than 14 Ph.D. honorary degrees from Thai universities

From all of my research, I have concluded that Kamol is one of the most respected and visionary artists in Thailand. He welcomed and supervised art teachers and young artists who were selected for field trips to the USA. Many artists who met him there were also impressed with his generosity. In 2018, Kamol came back with the project “Two visions of the wonderland” which was the symbol of Thailand Biennale Krabi.

 

“I remain faithful to my Thai root
I’m striving, still, on the same old course
I’m content with my life as a freelance artist.”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Kamol Tassananchalee has some outstanding artworks in the USA such as a color splashing in the Mojave Desert. He also supports art teachers and young artists to do art workshops in the USA.

 

He has spent more than 16 years with the project to develop and transfer the knowledge of art to young artists throughout Thailand. Starting with the cooperation of the first minister of the ministry of culture to the present minister: Office of Contemporary Art and Culture and Thai Art Council USA. He brought artists to the Grand Canyon hundreds of times and amazed artists who went to meet him in the USA. The 9th Young Artist Talent 2018 was a field trip project to visit the Museum of Contemporary Native Arts and Canyon Road Contemporary Art which is on a road with almost 200 art galleries. They also have workshops and art lectures.

 

Here is the interview:

JY: Please tell us about the origin of a sculpture you called “Two visions of the wonderland”. I find that it could be the suitable symbol of the Thailand Biennale Krabi 2018.  

 

KT: Vision of Krabi is a sculpture I created at Kanabnam Mountain in Krabi Province. It actually has a better location rather than at the national park or the beach which are the main venues for the four-month art exhibition during 2018 – 2019. For this sculpture, I decided to use permanent materials like stainless steel so it could stay with Krabi Province for a long time. The area around the estuary of Krabi River already has a water supply and electricity. Then I designed the sculpture with technology so that people can see it day and night. This is a different creative concept from working in the national park or limited, inflexible and unsuitable spaces for working. Thanks to the mayor Kiratisak Phukaoluan who offered me such a beautiful area for 
my work.

My concept of this sculpture was to look at the beautiful nature of Krabi Province with open eyes. This is an important issue so I came up with the idea of using a “magnifying glass” to symbolize real and imaginary visions. Because imagination is important, I installed LED screens to show some videos of fish in the sea and important tourist attractions in the nearby islands. Another vision is to use a three-meter-long large telescope to look at Khao Kanabnam which is the natural habitat of white head eagles. They still live well in nature. There are many viewpoints and imaginations that reflect nature in every angle and even in yourself. We can see the reflections of ourselves by looking at the curved mirrors in several locations and this is imagination in another viewpoint.

 

This piece of artwork is complete with images, light, colors, sounds from LED screens, video clips embedded in the base of the sculpture. This could be called a viewpoint of beyond reality from looking at KrabiProvince over the horizon. This is my intention from the topic I set earlier. My work was the first piece of art to be completed in the project. For my wish, I would like this piece of art, my creation, to stay permanently in Krabi forever. I realized that KrabiProvince has a long rainy season for eight months, full of storms and heavy rain. My decision was to use durable materials for this sculpture so there is no need to repair it at later time.

 

JY: What about your education in Thailand and abroad?

KT: I graduated from Pohchang Academy of Art in 1964. After that I went to SrinakharinwirotUniversity, Prasanmit Campus. In 1969, I switched from the university in Thailand and received a scholarship fromOtis Art Institute of Los Angeles, California,U.S.A and finished my master’s degree in 1977 in the USA. After that, I became an art lecturer at LamarUniversity, Beaumont,Texas, USA in 1977 and University of California, Berkeley,CA during 1979 – 1981.

JY: As you have been living abroad most of your life, is it possible for the Western art style to have a complete influence with your way of art making?

 

KT: I think that is unlikely to happen. Although I spent more than 45 years of my life living abroad, most of my works are heavily inspired by Thai culture and Buddhism such as shadow puppets which is a form of cultural entertainment. The four elements of earth, wind, water and fire are the story of various Thai kites used in the competition.

 

JY: What more would you like to tell us about your life.  

KT: When I was around 27- 28 years old, the news agency USIA came to me to shoot a video interview and the Freedom Magazine contacted me to publish an interview about my life.

46 years ago, I brought a Thai national flag to the US due to my achievement as an artist. That was one of the best moments in my life. De Young Museum in San Francisco, California and the Palace of Legion, San Francisco bought contemporary artworks for the first time in their history. At that time, I was a lecturer at Berkeley.

 

JY: Please tell us about the project to support art teachers and young artists that you are a part of? 

 

KT: “Ton Mai Roi Om” is an important ongoing project in which we artists nurture new seedlings of artists to prosper and be successfu. We now have many supportive organizations such as the Department of Cultural Promotion, Office of Contemporary Art and Culture. Many national artists in visual arts are the spearheads from the outset starting such as Thawan Duchanee, Prayat Pongdam, etc. The first year of the project began at Rajabhat University ChiangRai Province in the North of Thailand. This project sparks much interest from elementary, secondary, high school and university students from nearby provinces throughoutThailand. The whole project lasted two days. The number of participants exceeded 2,000 people per day so we had to change the location from four large tents to the large convention hall.

 

The occurring problem was that the equipment was insufficient but most students prepared their equipment themselves so the activity went smoothly. Due to its popularity, the project was organized four times every year and rotated to different regions in the North, South, Northeast, East and Central regions. Apart from visual arts, artistic writing and performances were added to the project and these formed the three main branches of art. This is the good way for the national artists in the three branches to transfer their knowledge and experiences to the younger generation of artists. There were around 10 – 11 stages of knowledge for the students to participate in. The national artists in the central regions were the largest among all the groups. Sometimes there were 15 – 22 national artists in various branches such as Fine Art, Graphic Arts, Mixed Media, Photography, Architecture, Sculpture, Poetry and Short Stories. Performance depended on each region: Traditional Art, Traditional musical instruments such as Sabudchai drum, Thai flute as well as Thai traditional and Country Singing.

After we took care of the new seedlings of artists, it was about time for us to find the uncut diamonds in the mud. Once we found these diamonds, we faceted them into beautiful gems. Simply put, we support these talented young artists to be confident and skillful in their own ways. For this project, hundreds of university students throughout the country applied to this camp. At first 70 people from all regions were selected and they had to pass some challenges. In the end, only 10 – 11 students were chosen to travel to the USA to exhibit their works, have a field trip, do some workshops and stay with me for two weeks. During this time, I brought them to many famous art galleries and to meet some professional artists as well as visit art departments at several universities.

https://www.scene4.com/archivesqv6/2019/feb-2019/0219/janineyasovant0219.html

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Dr. Kamol and Nuansri Tassananchalee

 

กมล ทัศนาญชลี: ศิลปินแห่งชาติ
ตะวันออกและตะวันตก ศิลปินสองซีกโลก

ข้าพเจ้าเดินอยู่บนเส้นทางนี้มายาวนาน ชีวิตและวันเวลาที่ผ่านไป พบว่าการทำงานศิลปะให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีพื้นฐานจากความจริงใจบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง และ ค่าของคนคือผลของงาน และมีคุณค่ามหาศาลตลอดไป” 

— กมล ทัศนาญชลี

เมื่อไม่นานมานี้ดิฉันมีนัดหมายสัมภาษณ์อาจารย์กมล ทัศนาญชลี ตอนที่พบกัน ท่านบอกกับดิฉันว่าท่านได้เดินทางกลับมาจากสหรัฐอเมริกาหลายครั้งกับครอบครัวเพื่อมาเข้าร่วมงานนิทรรศการศิลปะ เวิร์คช็อป และในโอกาสพิเศษที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย เป็นเวลามากกว่า 8 ปีแล้วที่ดิฉันได้ติดตามงานนิทรรศการของท่านในประเทศไทย และความปรารถนาของดิฉันก็คือได้สัมภาษณ์ท่านอาจารย์กมลสักครั้งหนึ่ง อาจารย์กมล ทัศนาญชลีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ใน ปีพ.ศ. 2540 ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัญฑิตกิติมศักดิ์ 14 ใบจากมหาวิทยาลัย หลายแห่งในประเทศไทย จากการศึกษาค้นคว้ามาทั้งหมด ดิฉันจึงได้ข้อสรุปว่าอาจารย์กมลเป็นหนึ่งใน ศิลปินที่เป็นที่เคารพนับถือและมีวิสัยทัศน์ในประเทศไทย ท่านให้การต้อนรับและ ดูแลครูศิลปะและศิลปินรุ่นใหม่ที่ได้รับเลือกให้ไปทัศนศึกษาดูงานที่สหรัฐอเมริกากลุ่มศิลปินที่ได้พบกับท่านต่างประทับใจในความเป็นกันเองของท่าน ในปีพ.ศ.2561 อาจารย์กมลกลับมาพร้อมกับผลงานที่มีชื่อว่า “Two visions of the wonderland” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของงานThailand Biennale Krabi 2018 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

“ข้าพเจ้ายังคงซื่อตรงต่อรากเหง้าความเป็นไทย

ต่อสู้ดิ้นรนอยู่บนเส้นทางสายเดิม

พอใจในชีวิตที่เป็นศิลปินอิสระ” 

 

อาจารย์กมล ทัศนาญชลีมีผลงานที่โดดเด่นในสหรัฐอเมริกาเช่นการสาดสีที่ ทะเลทรายโมฮาเว่ ท่านยังสนับสนุนครูศิลปะและศิลปินรุ่นเยาว์ให้ทำงานเวิร์คช็อปในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

 

อาจารย์กมลใช้เวลามากกว่า 16 ปีกับโครงการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ด้าน ศิลปะให้กับศิลปินรุ่นเยาว์ทั่วประเทศไทย เริ่มด้วยการร่วมมือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมคนแรกมาจนถึงคนปัจจุบัน สำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย และสภาศิลปะไทยสหรัฐอเมริกา อาจารย์กมลพาศิลปินไปยังแกรนด์ แคนยอนหลายร้อยครั้งและสร้างความ ประหลาดใจให้กับศิลปินที่ไปพบท่านในสหรัฐอเมริกา โครงการ Young Artist Talent ครั้งที่ 9 ประจำปีพ.ศ. 2561 เป็นการทัศนศึกษาดูงานเยี่ยมชม Museum of Contemporary Native Arts และ Canyon Road Contemporary Art ที่ตั้งอยู่บนถนนที่มีห้องแสดงงานศิลปะเกือบถึง 200 แห่ง และยังมีกิจกรรมเวิร์คช็อป และการฟังบรรยายเกี่ยวกับศิลปะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์

 

จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานประติมากรรมที่มีชื่อว่า“Two visions of the wonderland” ดิฉันพบว่าผลงานชิ้นนี้น่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่เหมาะสมสำหรับงาน Thailand Biennale Krabi 2018

 

กมล: งานประติมากรรมชิ้นนี้ผมสร้างขึ้นที่เขาขนาบน้ำ จังหวัดกระบี่ เป็นงานที่ได้ ตำแหน่งที่ดีมากกว่าไปอยู่ในที่อุทยานหรือตามชายหาดที่จะเป็นงานชั่วคราว 4 เดือน ผมจึงใช้วัสดุที่คงทนถาวร สแตนเลสไร้สนิมที่จะอยู่คู่กับกระบี่ตลอดไปปากแม่น้ำกระบี่มีน้ำไฟฟ้าพร้อม จึงได้ออกแบบงานประติมากรรมที่ดูได้ทั้งกลางวันและกลางคืน มาเป็นแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ต่างกับอยู่อุทยานหรือสถานที่ๆ ไม่คล่องต้วในการทำงาน ต้องขอบคุณท่านนายกเทศมนตรีกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วนที่หา พื้นที่ได้งดงามมากแนวคิดคือการมองกระบี่ที่เป็นธรรมชาติสวยงามด้วยตาเปล่าอันเป็นโจทย์ที่สำคัญ จึงใช้“แว่นขยาย”เป็นสัญลักษณ์มองในแง่มุมมองของจริงและจินตนาการ แอบแฝงไปด้วยจินตนาการเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถมองเห็นใต้น้ำ ใช้จอ LED ฉายรูปฝูง ปลาและสถานที่สำคัญของกระบี่ตามเกาะต่างๆ การมองเห็นอีกอย่างหนึ่งคือการ ใช้กล้องส่องทางไกลขนาดเกือบสามเมตรมองภาพเขาขนาบน้ำที่เป็นถิ่นอาศัย ตามธรรมชาติของนกอินทรีหัวขาวที่ยังคงดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ยังมีอีกหลาย แง่มุมมองจินตนาการที่สะท้อนธรรมชาติรอบด้านทุกแง่มุมและสะท้อนตัวเองด้วย เราจะเห็นเงาสะท้อนของตนเองตามที่ติดกระจกโค้งตามจุดต่างๆ และนี่คือ จินตนาการในอีกมุมมองหนึ่ง งานชิ้นนี้มีครบทั้งรูปแสงสีเสียงจากจอLED วิดีโอคลิบที่ฝังอยู่ในฐานงาน ประติมากรรมจึงเป็นมุมมองจริงเหนือจริงจากการมองกระบี่สุดขอบฟ้า ตามหัวข้อที่ได้ตั้งไว้ ที่สำคัญเสร็จเป็นชิ้นแรกในโครงการและอยู่ถาวรคู่กระบี่ตลอดไป ผมได้คำนึงถึงคำว่าฝนแปดแดดสี่ ตระหนักดีว่ากระบี่มีฝนอยู่แปดเดือนมีลมพายุ จึงเลือกใช้วัสดุที่คงทนโดยไม่ต้องมาซ่อมในภายหลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จานีน: อยากทราบเรื่องของการศึกษาของอาจารย์ในไทยและต่างประเทศ

กมล: ผมจบจากโรงเรียนเพาะช่างในปีพ.ศ. 2507 หลังจากนั้นผมไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ในปีพ.ศ. 2512 ผมย้ายจาก  มหาวิทยาลัยในประเทศไทยและได้รับทุนการศึกษาจาก Otis Art Institute of Los Angeles รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทในปีพ.ศ. 2520 ในสหรัฐอเมริกาหลังจากนั้นผมไปเป็นอาจารย์สอนศิลปะที่ Lamar Universityเมืองโบมองต์ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกาในปี 2520 และที่
University of California เมืองเบิร์กเลย์รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริการะหว่างปีพ.ศ. 2522 -2524 

 

จานีน: อาจารย์ใช้เวลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ เป็นไปได้หรือไม่ที่สไตล์ งานศิลปะแบบตะวันตกจะมีอิทธิพลอย่างสิ้นเชิงต่อวิธีการทำงานศิลปะของอาจารย์ 

กมล: ผมคิดว่าสิ่งนั้นไม่น่าจะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าผมจะใช้เวลาของชีวิตมากกว่า 45 ปี อาศัยอยู่ต่างประเทศ งานของผมส่วนใหญ่มีแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมไทย และศาสนาพุทธเช่นหนังตะลุงซึ่งเป็นความบันเทิงทางวัฒนธรรม ธาตุทั้งสี่ดิน ลม น้ำ ไฟเป็นเรื่องราวของว่าวไทยหลายชนิดที่ใช้ในการแข่งขัน

จานีน: อาจารย์อยากเล่าเรื่องอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับชีวิตของอาจารย์อีกบ้างคะ

กมล: ตอนที่ผมมีอายุประมาณ 27 -28 ปีสำนักข่าว USIA มาหาผมเพื่อขอถ่ายทำการสัมภาษณ์เป็นวิดีโอและนิตยสาร Freedom Magazine ติดต่อผมเพื่อตีพิมพ์บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับชีวิตของผม46 ปีที่แล้วผมอัญเชิญธงชาติไทยไปยังสหรัฐอเมริกาเนื่องมาจากความสำเร็จของผมในฐานะที่เป็นศิลปิน นั่นเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของผม De Young
Museumและ Palace of Legion เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียซื้อผลงานศิลปะร่วมสมัยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตอนนั้นผมเป็นอาจารย์อยู่ที่เบิร์กเลย์

 

จานีน: อยากให้อาจารย์พูดถึงที่มาโครงการสนับสนุนครูศิลปะและศิลปินรุ่นเยาว์ที่อาจารย์ดูแลอยู่

กมล: ต้นไม้ร้อยอ้อมเป็นโครงการสำคัญที่เราต้องเพาะเมล็ดพันธุ์ศิลป์ของประเทศให้งอกงามต่อไปจึงเป็นที่มาของโครงการนี้ เราเริ่มจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสำนักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์เป็นหัวหอกตั้งแต่ครั้งแรกเช่น อ.ถวัลย์ ดัชนี อ.ประหยัด พงษ์ดำ ครั้งแรกจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ จังหวัดเชียงราย ได้รับความสนใจจากครู อาจารย์ นักเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษามาจากจังหวัดใกล้เคียงและทั่วประเทศ
โครงการทั้งหมดใช้เวลาสองวัน จำนวนของผู้เข้าร่วมมากกว่า 2,000 คนต่อวันจึงต้องย้ายจากเต้นท์ขนาดใหญ่ 4 เต้นท์มาเป็นหอประชุมใหญ่ ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออุปกรณ์ไม่เพียงพอแต่นักเรียนส่วนใหญ่ก็เตรียมอุปกรณ์มาเองด้วยกิจกรรมจึง
ดำเนินไปอย่างเรียบร้อย เนื่องมาจากความนิยมจึงทำให้มีการจัดโครงการ 4 ครั้งในแต่ละปี สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปยังภาคเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือตะวันออก และภาคกลาง จากทัศนศิลป์ก็จะมีวรรณศิลป์เพิ่มขึ้นและในที่สุดก็มีศิลปะการแสดงครบทั้ง 3 สาขาหลัก เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ ปรัชญา ความคิดโดยตรง ของศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขาไปยังศิลปินรุ่นใหม่ และแบ่งเป็นฐานความรู้ได้ 10 ถึง 11 ฐานให้นักเรียนเข้าร่วม ศิลปินแห่งชาติจากภาคกลางมาเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด บางครั้งก็มีศิลปินแห่งชาติ 15 – 22 ท่านจากสาขาต่างๆ เช่นจิตรกรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม การถ่ายภาพ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม บทกวี และเรื่องสั้น ศิลปะการแสดงก็แล้วแต่ภูมิภาค ศิลปะพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้านเช่นกลองสะบัดชัย การเป่าขลุ่ยไทย การร้องเพลงพื้นบ้านและร้องเพลงลูกทุ่ง หลังจากที่เราจัดการเรื่องการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ศิลปินใหม่แล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะ หาเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนที่ยังอยู่ในโคลนตม หลังจากที่เราพบเพชรเหล่านี้แล้ว
จึงเจียระไนให้เป็นอัญมณีที่สวยงามต่อไป กล่าวง่ายๆก็คือเราสนับสนุนศิลปินรุ่น ใหม่ที่มีพรสวรรค์ให้มีความมั่นใจและมีทักษะในทางของตนเอง สำหรับโครงการนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยหลายร้อยคนจากทั่วประเทศสมัครเข้ามาอยู่ในค่ายนี้ ตอน แรก 70คนจากทั่วภูมิภาคถูกเลือกเข้ามาและต้องทำการผ่านด่านต่างๆ ในท้าย ที่สุดคัดเหลือนักศึกษาเพียง 10 – 11 คนที่ได้รับเลือกเดินทางไปสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงผลงาน ไปทัศนศึกษาดูงาน ทำเวิร์คช็อปและพักอยู่กับผมเป็นเวลาสอง สัปดาห์ ในช่วงเวลานี้ผมจะพาไปชมแกลเลอรี่งานศิลปะที่มีชื่อเสียง ไปพบปะ พูดคุยกับศิลปินมืออาชีพและเยี่ยมชมคณะศิลปะของมหาวิทยาลัยต่างๆ

https://www.scene4.com/archivesqv6/2019/feb-2019/0219/janineyasovant0219thai.html

KL5.jpg
KL7.jpg
KL10.jpg
KL8.jpg
KL1.jpg
KL2.jpg
KL3.jpg
bottom of page