top of page
nr6.jpg
nr10.jpg
crop1.jpg

When I contacted Narong Wannasa for an interview, I found that he was teaching art to young students in several schools in a rural community. He said to me that he would like to give something to society without depending on a budget. For this, he refused to receive any wages when he was teaching poor students who have less money and opportunity. Those students were from Ratchaprachanukroh 27 School in Nong Khai Province, Thailand. His primary intention was for his majesty the king of Thailand.

 

In my view, his works are quite different from most students in art colleges and universities in various aspects. Notably, the way he applies colors and his concept of anatomy are appealing to me. As can be seen in later sets of artworks, his favorite animal he likes to draw is the buffalo.

 

 

From a view of the past to the present, the buffalo is still a good friend of Thai farmers who grow rice. There is a little old, funny Thai proverb that mentions the relationship between a myna (bird) and a buffalo: "Myna tries to feed an old buffalo but the buffalo eats rice instead and then myna's head grows bigger."  This proverb teaches children not to act lazy like a myna on the back of a buffalo and thus myna's image is seen negatively. In reality, however, the existence of the myna is very important to a buffalo as it helps to repel bugs and insects that cause harm to the animal.  Those bugs and insects are a delicious food source for the birds.  A flock of mynas on a buffalo is very noisy. Sometimes they tend to fight each other but this does not bother the buffalo in any way.

 

 

One day, an artist, Supawat Thonglamul, came to Chiang Mai to visit my younger brother at my house after he went to paint murals in temples in northeastern Thailand for eight months. When I met Supawat, I asked him about Narong Wannasa. I was curious about art projects that Narong returned to work on and I was not sure whether they were made by the same team or not. While Narong was waiting for his mother at the hospital, he drew eight tigers on a canvas frame and later he showed that picture on Facebook. I chatted with him briefly about this picture and he said that it was still not complete. I didn't know much about him — his personal biography, education and other previous works. At first, I asked Supawat to contact Narong to arrange an interview. Luckily, Narong said yes because at that time he was occupied with his duties as an art teacher for a school. Narong said he got a small amount of money for equipment but was willing to go to Nong Khai province.

 

 

JY: I would like to ask you about your life as a child as well as your educational background.

 

NW: When I was young, my mother sent me to a boarding school for 12 years from primary school year one to high school year three. That school was called Songkroh Tawatburi and was situated in Roi Et Province. My parents have three children including me and I was the only one who was sent to the school in the other province because my mother knew that I loved drawing. To date, I have sent hundreds of my paintings to various art competitions and contests. 13 years ago I got the second prize from the United Nations Art Contest: the theme of the artwork was "Population and environment". Later I got the second prize again in a poster design competition and this time the first prize winner was African.

 

 

 This was my inspiration to choose my own way of living. After I graduated from school, I decided to continue my study at Burapha University in Bang Saen, Pattaya because it was more convenient for me to find accommodation and I could manage my travel costs better. During my study there I also worked to support myself financially and my grade was not affected by this. In the third year I transferred my study credits to be an exchange student in Yunnan Province, China for one semester. The university I went to was called "The University of Da Li."  The professors in the art departments were real artists and they were very compassionate. Da Li was the land of beautiful art and its scenery was spectacular. The food there was nice too. These reasons encouraged me to extend my study time and finish my bachelor's degree there. In 1991 I had my solo exhibition in Da Li and all of my paintings were almost sold out. I only took a few of them with me as a souvenir. My professors came to say goodbye to me at the airport on my last day in China and one of them gave me some final advice: he said any artist could draw a realistic portrait if he had enough training but it is better for him to find individual uniqueness.

 

 

JY: What do you think about the image of uniqueness in Thai northeastern culture?

 

NW: The scenery such as mountains, forests and rice fields present unique images of Northeastern culture of Thailand. I started to think that a buffalo can be a unique representative for this. It was also the inspiration from my family in Kalasin Province. When I was a child I saw some buffaloes and farmers in the rice fields. Not only that, forests and birds are different from other regions in Thailand. I try to draw many animals such as elephants, horses, cows and buffaloes. In the end I choose to draw buffaloes in different settings and postures to convey my story and emotions. A buffalo's horn is like a branch. I used to see a flock of myna birds on a buffalo's back. There are snakes in some paintings though. The scenery of the forest in Isan region is so different from other forests.  What I try my best to use in my painting are my individuality and uniqueness in the same manner as the deep soul of Thai northeastern people. Most of my present paintings are created and applied from my childhood and adulthood memories.

 

 

 In my opinion, buffaloes are honest and patient animals. They are also very peaceful and adorable. Their eyes and anatomy are so sincere and friendly with people and the environment. These paintings are very popular among foreigners and can be sold at high prices. Many art collectors understand how difficult it is to make distinctive art work with patience and refinement in the way of Isan people. Besides me, there are many outstanding artists in the northeastern region of Thailand. Most of them try to include the soul of Isan people in their art works and their works are interesting. The works of Isan artists go beyond the national level but sometimes people in Thailand are not interested much. For me, I still go to paint murals in many temples, houses or schools occasionally or I am the art teacher for schools in several provinces in northeastern regions. I regard this kind of work as the devotion of my time and imagination to create a better and stable society as well as inspiring students to be good artists one day if they wish.

 

 

JY: Tell me about your past and future art exhibitions.

 

NW: The first one was a solo exhibition in Da Li.  The second one was at the Opium Gallery in South Pattaya. This place has many foreign supporters. The third one is at Phra Nakorn Bar and the last one was a one-month exhibition at Jamjuree Gallery, Bangkok.

 

 

 And so, we have good news for everyone and I am excited to announce it: 
Next year, 2015, Narong Wannasa and Supawat Thonglamul, Isan Artists, will have a joint art exhibition at  the American embassy in Bangkok.  It is now in preparation and I hope it will be a great time for art lovers. Two Artists from Isan who work on many mural paintings for temples will come back to cooperate for the Art exhibition together.  We will report on this event in a forthcoming issue..

https://www.scene4.com/archivesqv6/2014/sep-2014/0914/janineyasovant0914.html

Narong 24.jpg

ณรงค์ วรรณสา

คลิกเพื่อดูภาพ

เมื่อดิฉันติดต่อคุณณรงค์ วรรณสาเพื่อขอสัมภาษณ์ ดิฉันพบว่าคุณณรงค์ไปสอนศิลปะเด็กนักเรียนหลายๆ โรงเรียนในเขตชุมชนนอกตัวเมือง คุณณรงค์บอกกับดิฉันว่าเขาอยากจะมอบบางสิ่งให้กับสังคมโดยที่ไม่ต้องอาศัยเงินงบประมาณ เพื่อการนี้เขาปฎิเสธไม่รับเงินค่าจ้างเมื่อตอนที่เขาไปสอนนักเรียนยากจนที่ขาดเงินทองและโอกาส นักเรียนมาจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 27 ในจังหวัดหนองคาย ความตั้งใจหลักของเขานั้นทำเพื่อในหลวง

 

ในความคิดของดิฉัน งานของคุณณรงค์นั้นค่อนข้างแตกต่างจากนักศึกษาศิลปะในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สังเกตุได้คือวิธีการใช้สีและแนวคิดเรื่องกายวิภาคนั้นประทับใจดิฉันมาก ตามที่ได้เห็นในผลงานชุดหลังๆ สัตว์ที่เขาชื่นชอบในการวาดมากที่สุดคือควาย จากมุมมองของอดีตจนถีงปัจจุบันควายยังคงเป็นเพื่อนที่ดีของชาวนาไทยที่ปลูกข้าว มีสุภาษิตไทยเก่าแก่แนวตลกขบขันบทหนึ่งที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างนกเอี้ยงและควายไว้ว่า"นกเอี้ยงมาเลี้ยงควายเฒ่า ควายกินข้าวนกเอี้ยงหัวโต" สุภาษิตบทนี้สอนให้เด็กอย่าทำตัวขี้เกียจเหมือนนกเอี้ยงบนหลังควาย ภาพลักษณ์ของนกเอี้ยงเลยถูกมองไปในแง่ลบ แต่ในความเป็นจริงแล้วการอาศัยอยู่ของนกเอี้ยงนั้นสำคัญต่อควายเพราะนกเอี้ยงจะช่วยขับไล่แมลงต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายแก่ควายออกไป แมลงต่างๆเหล่านี้จะเป็นอาหารอันโอชะสำหรับนกเอี้ยงอีกด้วย ฝูงนกเอี้ยงบนหลังควายส่งเสียงดังมาก บางครั้งก็จิกตีพวกเดียวกันเองแต่นี่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รบกวนควายเลยไม่ว่าในทางใดก็ตาม

 

วันหนึ่งศิลปินคุณศุภวัตร ทองละมุล มาที่บ้านดิฉันเชียงใหม่ เพื่อมาหาน้องชายของดิฉันหลังจากการไปเขียนภาพฝาผนังที่วัดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทยเป็นเวลาแปดเดือน ตอนที่ดิฉันพบคุณศุภวัตร ก็เลยถามถึงคุณณรงค์ วรรณสา ดิฉันรู้สึกสนใจถึงโครงงานศิลปะที่คุณณรงค์กลับมาทำต่อและดิฉันยังไม่แน่ใจว่าผลงานเหล่านี้จัดทำโดยทีมงานเดียวกันหรือไม่ ในตอนที่คุณณรงค์รอคุณแม่ของเขาที่โรงพยาบาล เขาวาดเสือแปดตัวลงบนเฟรมผ้าใบและต่อมาเขาได้ลงภาพนั้นทาง Facebook ดิฉันพูดคุยกับเขาสั้นๆเกี่ยวกับภาพนี้และเขาบอกว่าภาพนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดิฉันไม่ค่อยทราบอะไรมากเกี่ยวกับคุณณรงค์ ประวัติส่วนตัว การศึกษาและผลงานที่ผ่านมา ในตอนแรกดิฉันขอให้คุณศุภวัตรติดต่อคุณณรงค์เพื่อขอทำการสัมภาษณ์ โชคดีที่คุณณรงค์ตอบตกลงในขณะที่ตอนนั้นเขาเขายังมีภาระหน้าที่ไปเป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียน และต้องเดินทางทุกวัน  คุณณรงค์ตอบว่าเขาได้เงินค่าซื้อวัสดุอุปกรณ์มาไม่มากนักแต่เขาก็เต็มใจจะไปที่จังหวัดหนองคาย

 

จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องราวชีวิตของคุณตอนเป็นเด็กและเรื่องการศึกษา

 

ณรงค์: เมื่อตอนที่ผมยังเป็นเด็ก คุณแม่ส่งผมไปโรงเรียนประจำเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งนั้นมีชื่อว่าโรงเรียนสงเคราะห์ธวัชบุรีและโรงเรียนตั้งอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด พ่อแม่ของผมมีบุตรสามคน และผมเป็นคนเดียวที่ถูกส่งไปเรียนที่ต่างจังหวัดเพราะคุณแม่ทราบว่าผมรักการวาดรูป จนถึงทุกวันนี้ผมส่งผลงานมากกว่าร้อยชิ้นเข้าร่วมประกวดในการแข่งขันทางศิลปะหลายๆงาน 13 ปีที่แล้วผมได้รับรางวัลที่สองการงานประกวดผลงานศิลปะที่จัดโดยองค์การสหประชาชาติ หัวข้อของงานคือประชากรและสิ่งแวดล้อม ต่อมาผมได้รางวัลอันดับสองอีกครั้งหนึ่งจากการแข่งขันออกแบบโปสเตอร์ ในเวลานี้คนที่ได้อันดับหนึ่งเป็นชาวแอฟริกัน นี่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเลือกวิธีการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง หลังจากที่ผมจบจากโรงเรียนแล้วผมตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสนพัทยา เพราะความสะดวกสบายมากกว่าในการหาห้องพักและผมสามารถบริหารค่าเดินทางได้ดีกว่า ในตอนที่ผมเรียนอยู่ก็ทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูตนเองไปด้วยโดยที่ไม่มีผลกระทบกับการเรียน ในปีที่สามผมโอนหน่วยการเรียนไปเป็นนักเรียนเปลี่ยนในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยที่ผมไปเรียนคือมหาวิทยาลัยต้าหลี่ อาจารย์ใน
ภาควิชาศิลปะเป็นศิลปินจริงๆ และทุกท่านเมตตาผมมาก ต้าหลี่เป็นเมืองแห่งศิลปะที่สวยงามและวิวทิวทัศน์ตระการตา อาหารการกินที่นั่นก็ดีเช่นเดียวกันเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผมยืดเวลาการศึกษาและจบปริญญาตรีที่นั่น ในปีพ.ศ. 2534 ผมจัดงานนิทรรศการเดี่ยวขึ้นในเมืองต้าหลี่และภาพเขียนของผมถูกขายไปเกือบทั้งหมด ผมนำติดตัวกลับมาสองสามรูปไว้เป็นที่ระลึก อาจารย์มากล่าวอำลาที่สนามบินในวันสุดท้ายที่ผมอยู่ในประเทศจีน และหนึ่งในนั้นได้มอบคำแนะนำทิ้งท้ายเอาไว้ว่าศิลปินคนไหนก็ตามสามารถวาดภาพเหมือนได้
ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอแต่จะดีกว่ามากถ้าเขาไปค้นหาความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

 

จานีน: คุณคิดเห็นอย่างไรกับความมีเอกลักษณ์ในวัฒนธรรมไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ณรงค์: ทิวทัศน์ภูมิประเทศเช่นภูเขา ป่าไม้ นาข้าว แสดงถึงภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผมเริ่มมีความคิดว่าควายสามารถเป็นตัวแทนในเรื่องนี้ได้ และนี่ก็ยังเป็นแรงบรรดาลใจจากครอบครัวของผมในจังหวัดกาฬสินธ์ เมื่อตอนที่ผมยังเด็กผมเห็นควายและชาวนาอยู่ในนาข้าว ไม่เพียงแค่นั้นป่าไม้และนกยังแตกต่างไปจากภาคอื่นๆในประเทศไทยอีกด้วย ผมลองวาดสัตว์ต่างๆเช่นช้าง ม้า วัว ควาย แต่ท้ายที่สุดผมก็เลือกวาดควายในหลายๆฉากและอิริยาบถต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและอารมณ์ความรู้สึก เขาควายเป็นเหมือนกิ่งไม้ ผมเคยเห็นฝูงนกเอี้ยงบนหลังควาย ภาพเขียนบางภาพของผมก็มีงู วิวทิวทัศน์ของป่าไม้ในเขตภาคอีสานนั้นแตกต่างไปจากป่าไม้ที่อื่นๆ สิ่งที่ผมพยายามใช้มากที่สุดในการเขียนคือความเป็นส่วนตัว และลักษณะเฉพาะในรูปแบบเดียวกันกับจิตวิญญาณอันลึกซึ้งของคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพเขียนในปัจจุบันของผมทั้งหมดนั้นถูกสร้างและประยุกต์มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ของผมเอง

 

ผมคิดว่าควายเป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์และอดทน พวกมันไม่ทำร้ายใครและมีนิสัยน่ารัก ดวงตาและรูปร่างภายนอกดูจริงใจ เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อมภาพเขียนรูปควายนี้เป็นที่นิยมสำหรับชาวต่างประเทศมากและขายได้ราคาสูงนักสะสมงานศิลปะหลายๆคนเข้าใจดีว่ามันยากเย็นแค่ใหนที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นด้วยความอดทนและประณีตในวิถีของชาวอีสาน นอกเหนือจากผมแล้วยังมีศิลปินที่โดดเด่นอีกหลายท่านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทุกคนพยายามที่จะใส่จิตวิญญานของชาวอีสานลงในผลงานและ
ผลงานเหล่านั้นก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน งานของศิลปินอีสานนั้นเลยระดับประเทศไปแล้ว แต่ในบางครั้งคนในประเทศก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่สำหรับตัวของผมเองแล้วผมยังไปเขียนฝาผนังและกำแพงวัดต่างๆ ตามบ้านเรือนและโรงเรียนต่างๆ บางครั้งผมไปเป็นครูสอนศิลปะในหลายๆโรงเรียนในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผมถือว่างานลักษณะนี้เป็นการอุทิศเวลาและจินตนาการในการสร้างสังคมที่ดีงามและมั่นคงกว่าและยังเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนเป็นศิลปินที่ดีในวันหนึ่งตามที่พวกเขาปรารถนา

 

จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องของงานนิทรรศการที่เคยจัดในอดีตและจะจัดขึ้นอีกในอนาคต

 

ณรงค์: งานแรกคือนิทรรศการเดี่ยวที่เมืองต้าหลี่ งานที่สองจัดขึ้นที่ Opium Gallery ในพัทยาใต้ สถานที่แห่งนี้มีผู้สนับสนุนชาวต่างประเทศหลายคน งานที่สามจัดขึ้นที่พระนครบาร์และงานครั้งล่าสุดคืองานที่หอศิลป์จามจุรีที่จัดขึ้นเป็นเวลาหนึ่งเดือนในกรุงเทพ

 

มีข่าวดีสำหรับทุกคนและผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะบอกว่าในปีหน้าพ.ศ. 2558 ที่จะถึงนี้ ณรงค์ วรรณสา คุณศุภวัตร ทองละมุล จะจัดงานนิทรรศการร่วมที่สถานกงสุลอเมริกันประจำประเทศไทย ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานและคิดว่าคงเป็นเวลาที่ดีสำหรับผู้รักงานศิลปะ ศิลปินสองท่านที่มาจากอีสานที่เขียนภาพฝาผนังและกำแพงวัดจะกลับมาทำนิทรรศการด้วยกัน และผมจะรายงานเรื่องงานนิทรรศการที่จะมีขึ้นนี้ในโอกาสต่อไป

bottom of page