top of page

Janwit Chaisee
Reflections of 
the skills of a young artist

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Janwit Chaisee is a young Thai artist who graduated from the faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University, Thailand. He was born in Pattani Province in the South of Thailand. In May 2015, he had a solo art exhibition “Kon” (Human) at People’s Gallery, Bangkok Art and Culture Center. It can be said all of the paintings are stunning and reflect the skills of the artist .

His paintings are wonderful, quite unique in his depiction of human life. He also presents Batik Sarong clothing, as a part of living in the south of Thailand, in his paintings.

Pattani province is his hometown next to the border of Malaysia, As far as I know, many Thai-Muslim men and women in the five southern provinces of Thailand have used batik cloth for their everyday clothing for a long time because batik cloth is colorful and has many unique patterns. Wearing batik clothes can tell the social status of the wearer who might be rich or poor. In many festivals and ceremonies people also like to wear batik clothes. During weekdays, they can always wear batik clothes to work.

I used to study Batik in South East Asia through the eyes of western collectors, expensive batik always from silk and linen. And I saw in everyday life in Bali Indonesia, when women went to give the offering of flowers, they dressed in silk-sarong batik for the ceremony.

Janwit wonderfully expresses the beauty of local people in southern Thailand wearing cotton sarongs in everyday life with colors and patterns that are unique. He brings his knowledge of perspective and the beauty of southern Thailand women to inspire all art lovers: not just nude paintings but surrounded with batik clothes that make his paintings precious.

In Southeast Asia, the tradition of making batik is found in various countries: the batik of Indonesia, Malaysia and South Thailand are well-known for their unique styles and patterns. Maybe the best-known Indonesian batik, made on the island of Java, has a long history of acculturation, with diverse patterns influenced by a variety of cultures, and is the most developed in terms of pattern, technique, and the quality of workmanship. In October 2009, UNESCO designated Indonesian batik as a "Masterpiece of Oral and Intangible Heritage of Humanity."

Janwit with his vision of painting has shown his talent with batik clothes for men, women and, children. He has had a number of contemporary art exhibitions since he studied at Silpakorn University. In 2010 he joined the 27th contemporary arts exhibition for young artists. In 2011 he contributed his works to the Art of the Ganesha at Silpakorn Art Space. In 2014 he presented his art thesis to the faculty ofPainting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University. The year 2015 contained his art solo exhibition “Khon” (Human). 

Also, I am certain that anyone who loves nude paintings would be interested in Janwit’s work. His impressive works are realistic portraits.

On many occasions he painted portraits of the King of Thailand and those portraits were well received.

Most works in his exhibitions are oil paintings of Thai women with different postures in various costumes. These works are focused on the realism of Thai women in the past. Art students in all art academies such as Silpakorn University practice to draw nude paintings as it is vital to learn human anatomy in order to draw pictures of humans accurately.

He loves to paint beautiful clothes in vibrant colors. Moreover, he can convey and draw out the similarities and differences of the live human models.

During March 2018 Janwit went back to his hometown Pattani and visited many provinces including Yala, Songkla and Narathiwat, which was inspiring for his upcoming painting .He told me that it was a big surprise since during his early years in his home town area the majority of people were Buddhist. He used to think that Thai-Muslim people were the original residents of the area. He traveled, researched, and talked to many local residents who are Buddhists like him. He then found that there are many old temples. The architectural designs tell what time or which dynasties for which these temples were originally built. He sent me some photos of pagodas and temples and we talked about the history of southern Thailand.  

The Siam Peninsula or the Siam-Malay Peninsula was originally an administrative area of four major ancient cities or kingdoms, namely Tambalinga, Lanka Suka, Srivijaya, and Si Thammarat Nakhon or Si Thammarat Maha Nakhon. Si Thammarat Nakhon was also called the 12-Zodiac City as it was composed of 12 cities, namely Kelantan, Pahang, Sai Buri, Kedah, Pattani, Phatthalung, Trang, Banteay Samo (Banteay Sema), Sa Ulao, Takua Thalang, Chumphon, and Kra Buri. The administrative center of these 12 cities is currently in Nakhon Si Thammarat province. Their spiritual center was Phra Borom That Nakhon Si Thammarat; they rotated it to look after Phra Borom That Nakhon Si Thammarat and its vicinity each year. Gold and silver flowers were sent to constantly worship it. The power of Buddhism led to a firm connection among areas in ancient southern Siam, and this served as a foundation for religious, educational, political, economic, artistic and cultural prosperity. In southern Siam, Tambalinga was the first name that appeared in archaeological evidence, including historical objects, historical sites, stone inscriptions, and Thai and foreign historical documents. This great kingdom existed before 500 BE (43 BC). Its name appeared in Tamlingkam in the Maha Nithet Scripture. It also appeared in the Tan Shaw Stone Inscriptions in South India. In addition, it was found in historical Chinese documents called the Tang-ma-ling or Tan-mei liu. There is evidence showing that over 300 years later, Lankasuka was present in the territories which currently are Sai Buri and Kedah. Buddhist rulers converted to Muslim, the evidence of which is the Yarang Historical Site and Bu Jang Historical Site or Bujang Valley (in Kedah, Malaysia).

Both kingdoms’ administrative power came to the end after the arrival of the power of the Srivichai Kingdom just after 1300 BE (757 AD). Srivijaya’s power covered Siam.

 

I also asked Janwit to talk about his hometown and interesting local tradition.   

JY: Tell us about your hometown

JC: I was born and grew up in Pattani province. The locals living here shortened its name to just “Tani”. My birthplace is in a small village called “Ban Paen” in Saiburi District. The scenery there is so wonderful. In front of my house is the plain with lots of paddy fields. Behind my house is the mountain range. During daytime, the weather is hot and humid from frequent rainfall. In the night, the weather is so refreshing and cool. The way of life for the majority of people here is farming and livestock. Apart from Thai and Yawee languages, people also use one in Pattani and Narathiwat and in some parts of Malaysia near Narathiwat’s border called “Jae-hae”. This language is mostly used by groups of Thai Buddhists.

JY: What about meaningful local traditions?

JC: Most local traditions in my hometown are in harmony with the local way of life. For instance, the “La-sung” ceremony is held during the rice harvesting season to pay homage to Mae Phosop (the goddess of rice). For this ceremony, villagers make human-sized straw puppets of a marriage couple (“Toh Chumphuk”) dressed in local clothing and prepare the ceremony like a traditional wedding. The La-sung ceremony is a long-standing belief of villagers that both straw puppets, “Chumphuk”, marry and have a child (rice) in the following year. For the ceremony, Toh Chumphuk is placed in the central wooden pavilion. The villagers prepare sets of food for the offerings to the guardian spirits and Toh Chumphuk. Each set contains chicken curry, fresh chicken blood, dried salty fish, sticky rice in various colors and rice whiskey. The ceremonial leader will lead the procession till the end. After that, villagers will remove clothes from the straw puppets and then throw the straw up in the air.

Previous exhibitions

2010 – 27th contemporary art exhibition for young artists 

2011 – Art of the Ganesha exhibition at Art Space, Silpakorn University

2014 – Art Thesis for the final year students of the faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University

2015 – Solo exhibition “Khon” (Human) at People’s Gallery, Bangkok Art and Culture Center, Bangkok 

https://www.scene4.com/archivesqv6/2018/jun-2018/0618/janineyasovant0618.html

cover-400-cr.jpg
janwit_edited.jpg

เจนวิทย์ ไชยสี

คลิกเพื่อดูภาพ

 

 

เจนวิทย์ ไชยสีเป็นศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่จบจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกิดที่จังหวัดปัตตานีทางภาคใต้ของประเทศไทย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เจนวิทย์เคยได้จัดงานนิทรรศการเดี่ยว “คน”ที่พีเพิ่ล แกลเลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร อาจกล่าวได้ว่าภาพเขียนดูแล้วน่าทึ่งและสะท้อนให้เห็นถึงทักษะความสามารถของศิลปิน

ภาพเขียนของเจนวิทย์มีความสวยงาม ค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะตัวที่แสดงให้เห็น ภาพชีวิตของคน เจนวิทย์ยังได้นำเสนอผ้าโสร่งปาเต๊ะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในภาคใต้ของประเทศไทยในภาพเขียนอีกด้วย จังหวัดปัตตานีเป็นบ้านเกิดของเจนวิทย์ที่อยู่ไม่ไกลจากชายแดนประเทศมาเลเซีย เท่าที่ดิฉันทราบมาชายหญิงชาวมุสลิมในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ผ้าปาเต๊ะสำหรับการแต่งกายเป็นประจำทุกวันเป็นเวลานานเพราะผ้าปาเต๊ะ จะมีสีสันสดใสและมีลวดลายหลายแบบ การสวมเสื้อผ้าปาเต๊ะ สามารถบอกบอกได้ถึงสถานะทางสังคมของผู้สวมใส่ว่าร่ำรวยหรือยากจน ในเทศกาลและงานพิธีต่างๆ ผู้คนก็ชื่นชอบสวมผ้าปาเต๊ะ  ในช่วงวันทำงานก็สามารถสวมใส่ผ้าปาเต๊ะ ไปทำงานได้ดิฉันเคยศึกษาเรื่องผ้าบาติก(ปาเต๊ะ) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยผ่านมุมมอง ของนักสะสมชาวตะวันตก ผ้าบาติกที่มีราคาแพงก็ทำมาจากผ้าไหมและผ้าลินินดังที่ดิฉันได้เห็นชีวิตประจำวันที่บาหลี อินโดนิเซีย เมื่อผู้หญิงจะเดินทางไปถวาย
ดอกไม้ให้กับเจ้าที่เจ้าทาง ก็จะสวมใส่โสร่งผ้าปาเต๊ะ ไปในงานพิธีกรรมประจำวันนั้นเจนวิทย์แสดงให้เห็นถึงความงามของคนในท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทยที่ในชีวิตประจำวันสวมใส่โสร่งปาเต๊ะ ผ้าฝ้ายที่มีสีสันและลวดลายเฉพาะตัว เจนวิทย์ได้ ใช้ความรู้ในเรื่องมุมมองแบบเพอร์สเปคทีฟ และความงามของผู้หญิงไทย-มุสลิม ภาคใต้เพื่อให้เกิด แรงบันดาลใจกับผู้รักในงานศิลปะทุกคน การสื่อด้วยงาน กับภาพวาด หรือภาพเปลือย มิใช่เพียงแค่นั้น ภาพวาดที่ รายล้อมไปด้วยผ้า บาติกทำให้ภาพเขียนมีคุณค่ามากขึ้นไปอีก

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขนบธรรมเนียมการทำผ้าปาเต๊ะ ดิฉันขอเรียกว่าผ้าบาติกนั้นสามารถพบได้ในหลายประเทศ ผ้าบาติกอินโดนิเซีย มาเลเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทยนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในสไตล์และลวดลายที่มีความแตกต่างพิเศษเฉพาะตัว อาจบางทีผ้าบาติกอินโดนิเซียที่เป็นที่นิยมที่สุดนั้นผลิตขึ้นที่เกาะชวา มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของการผสมผสานวัฒนธรรม ลวดลายที่มีความ
แตกต่างได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการพัฒนามากที่สุดในด้าน ของลวดลาย เทคนิคและคุณภาพในการผลิต ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 องค์การยูเนสโกได้กำหนดให้ผ้าบาติกจากอินโดนิเซียเป็น "Masterpiece of Oral and Intangible Heritage of Humanity" เจนวิทย์กับวิสัยทัศน์ในเรื่องภาพเขียนได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในเรื่องผ้า ปาเต๊ะ สำหรับผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก มีงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยหลายครั้ง ตั้งแต่ตอนที่เจนวิทย์ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพ.ศ. 2553 เข้าร่วมงาน ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 27 ปีพ.ศ. 2554 ศิลปกรรมพระ พิฆเนศวร ณ หอศิลป์พรรณราย มหาวิยาลัยศิลปากร ปีพ.ศ. 2557 แสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และปีพ.ศ. 2558 มีนิทรรศการเดี่ยว "คน'' พีเพิ่ลแกลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ดิฉันแน่ใจอีกว่าผู้ที่รักชอบในงานภาพเปลือย  ก็จะสนใจงานของเจนวิทย์ด้วยเช่นกัน ผลงานที่น่าประทับใจก็จะเป็นการวาดภาพเหมือนจริง ในหลายๆโอกาสและเจนวิทย์ยังได้วาดภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีมาก

ผลงานส่วนใหญ่ในงานนิทรรศการจะเป็นภาพเขียนสีน้ำมันรูปหญิงไทยในกิริยาท่าทางต่างๆ สวมเสื้อผ้าหลากหลายชนิด ผลงานเหล่านี้จะเน้นในเรื่องความสมจริงของผู้หญิงไทยในอดีต นักศึกษาศิลปะในทุกสถาบันเช่นมหาวิทยาลัยศิลปากรจะฝึกวาดภาพนู้ด เพราะว่ามีความสำคัญในการเรียนรู้กายวิภาคของคนเพื่อที่จะวาดภาพคนได้อย่างถูกต้อง เจนวิทย์ชอบที่จะวาดเสื้อผ้าชุดสวยๆโดยใช้สีสันสดใส นอกเหนือจากนี้ยังถ่ายทอดแล้วดึงความเหมือนและความแตกต่างของผู้ที่มาเป็นแบบได้ช่วงเดือนมีนาคมพ.ศ. 2561 เจนวิทย์เดินทางกลับภูมิลำเนาที่จังหวัดปัตตานีและได้ไปเยือนหลายๆ จังหวัดรวมทั้งยะลา สงขลา และนราธิวาสซึ่งก็ได้เป็นแรง บันดาลใจให้กับภาพเขียนชุดที่กำลังจะมาถึง เจนวิทย์บอกดิฉันว่าเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กตอนที่อาศัยอยู่ที่บ้านเกิดผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ เขาเคยคิดว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมในพื้นที่นั้นมาก่อน การเดินทางกลับไปครั้งล่าสุดนี้  ค้นคว้าและพูดคุยกับชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับเขาจึงได้พบว่ามีวัดเก่าแก่หลายแห่ง การออกแบบทางสถาปัตยกรรม ได้บอกให้ทราบว่าวัดต่างๆ เหล่านี้แต่เดิมแล้วถูกสร้างในเวลาใดหรือในราชวงค์ใดเขาได้ส่ง ภาพถ่ายเจดีย์และวัดแห่งต่างๆ ให้เพื่อนๆ ดู และเจนวิทย์ได้สนทนากับดิฉันที่กำลังวกกลับไป ถึงเรื่องประวัติศาสตร์ภาคใต้ของประเทศไทย

เขตพื้นที่คาบสมุทรสยามหรือคาบสมุทรสยามมลายูแต่เดิมเคยเป็นเขตอำนาจในการปกครองของอาณาจักรเก่าแก่ทั้ง 4 แห่งคือ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัยและศรีธรรมราชนคร (หรือศรีธรรมราชมหานคร) กรณีอาณาจักรหลังสุดที่มีชื่อว่าเมืองสิบสองนักษัตร เพราะมีเมืองที่อยู่รวมกันปกครองจำนวน 12 เมือง ได้แก่กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี สายบุรี ปัตตานี พัทลุง ตรัง บันทายสมอ (บันทายสมา) สระ
อุเลา ตะกั่วถลาง ชุมพร และกระบุรี มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครศรีธรรมราชปัจจุบัน เมืองทั้ง 12 เมืองนี้มีศูนย์ รวมใจทำให้เกิดพลังเข้มแข็งเพราะมีพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นหลักยึดเหนี่ยว ทางใจ แต่ละเมืองจะหมุนเวียนกันดูแลองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชและเขตพื้นที่รายรอบเมือง แต่ละปีมีการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปบูชาพระบรมธาตุฯ อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด สิ่งนี้
เป็นพลังสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาทำให้ดินแดนไทยสยามภาคใต้โบราณมีความยึดโยงเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นรากฐานสำคัญในความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนา การศึกษา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ศิลปะและวัฒนธรรมดินแดนไทยภาคใต้หรือสยามไทยภาคใต้ ตามพรลิงค์เป็นชื่อแรกที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีไม่ว่าจะเป็นโบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลาจารึกและเอกสารเก่าทั้งไทยและต่างประเทศ เมืองใหญ่หรืออาณาจักรนี้มีมาก่อน พ.ศ.500 ด้วยปรากฏชื่อ ตัมลิงคัม ในคัมภีร์มหานิเทศน์ อีกทั้งยังปรากฏชื่อในศิลาจารึกตันชอว์ของอินเดียใต้ ของชวา ศรีลังกาด้วย อีกทั้งศิลาจารึกของไทยจารึกวัด มเหยงคณ์ จารึกวัดหัวเวียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบชื่อในเอกสารเก่าของของจีน เรียกชื่อว่าตั้งหม่าหลิง หรือตันเหม่ยหลิวอีกด้วย ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันห่าง กันประมาณ 300 ปีเศษ มีหลักฐานปรากฏเมืองลังกาสุกะ ในเขตแดนที่เป็นอำเภอ ยะรัง และไทรบุรี (เคดะห์ในประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ว่าเจ้าเมืองนับถือ พระพุทธศาสนาต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลักฐานปรากฏคือ โบราณสถานยะรัง และโบราณสถานบูจังหรือบูจังวัลเลย์ (ในเคดะห์ประเทศ มาเลเซียปัจจุบัน) ทั้งสองเมืองหรือสองอาณาจักรต้องยุติอำนาจการปกครองลงด้วยการเข้ามามีอำนาจการปกครองของศรีวิชัยราวปีพ.ศ. 1300 ดิฉันได้สอบถามเจนวิทย์เกี่ยวกับบ้านเกิดและประเพณีท้องถิ่นที่น่าสนใจ

 

จานีน: อยากให้เล่าเรื่องเกี่ยวกับบ้านเกิดของคุณ

เจนวิทย์: ผมเกิดและเติบโตที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งผมเองเกิดที่นี่ซึ่งผู้คนแถวบ้านผม เรียกกันสั้นๆ ว่า “ตานี” ผมเกิดในหมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอสายบุรี  หมู่บ้านที่เรียกว่า “บ้านแป้น” หมู่บ้านผมมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่ด้านหน้าบ้านผมบริเวณพื้นที่ราบเป็นทุ่งนา ส่วนด้านหลังเป็นทิวเขาสูงสง่า ส่วนสภาพอากาศแถวบ้านผมนั้น มีทั้งฝนและร้อน  กลางคืนอากาศจะสดชื่นเย็นสบาย วิถีชีวิตของชาวบ้านส่วน
ใหญ่จะทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ นอกเหนือจากภาษาไทยและยาวี ภาษาที่ใช้กันคือภาษา “เจ๊ะเห”  เป็นภาษาภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ใช้เฉพาะในปัตตานี นราธิวาส และในบางส่วนของประเทศมาเลเซียที่ติดกับพรมแดน นราธิวาส ภาษาเจ๊ะเห ใช้กันในกลุ่มคนไทยพุทธ

จานีน: ลองยกตัวอย่างเรื่องงานประเพณีในท้องถิ่นที่น่าสนใจ

เจนวิทย์: ประเพณีที่บ้านผมส่วนมากจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่นพิธี“ลาซัง” จะมีขึ้นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เป็นการเคารพแม่โพสพ ชาวบ้านจะจัดทำ“โต๊ะชุมพุก” เป็นหุ่นฟางชาย และหญิง เป็นคู่แต่งงานกัน การแต่งกายสวมใส่เสื้อผ้าที่มีตามท้องถิ่น ดั่งเป็นงานมงคลของทั้งคู่ โดยการจัดพิธีลาซัง เป็นความเชื่อของชาวบ้านที่มีมาเนิ่นนานเชื่อกันว่า เมื่อชุมพุกทั้งสองแต่งงานกันแล้ว จะมี
ลูก (ลูก ในที่นี้คือ ข้าว ) ที่จะมีผลผลิตในปีหน้า  การทำพิธีจะนำโต๊ะชุมพุกไปวางในหลา (ศาลา) กลางทุกนา ชาวบ้านจะเตรียม สำรับอาหาร ในหนึ่งสำรับจะมี แกงไก่  เลือดไก่สด ปลาเค็มแห้ง  ข้าวเหนียวมูน ทำเป็นสีสันต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว และเหล้าขาว เพื่อนำไปเซ่นไหว้  เจ้าที่เจ้าทาง และโต๊ะชุมพุกโดยมีโต๊ะหมอ เป็นคนนำทำพิธี หลังจากเสร็จพิธี ชาวบ้านก็จะนำชุมพุก ไปแก้มัด
สลายซังข้าว และโยนซังข้าวขึ้นฟ้า เป็นอันเสร็จพิธี

ประวัติการแสดงงาน
2553 - ร่วมแสดง ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 27
2554 - ร่วมแสดง ศิลปกรรมพระพิฆเนศวร ณ หอศิลป์พรรณราย มหาวิทยาลัยศิลปากร
2557 - แสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2558 - นิทรรศการเดี่ยว "คน'' ที่ พีเพิ่ลแกลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

bottom of page